วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3  วันพฤหัสบดี ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558  เวลา 13:30 - 17:30 น.

LET ' S..GO  


เข้าชั้นเรียนแน่นอนว่าจะต้องปั้มใบเก็บคะแนนในการเข้าเรียน มีการเล่นเกมก่อนจะเรียนด้วยนะเพื่อจะกระตุ้นนักศึกษาให้มีการตื่นตัว เหตุเพราะนักศึกษาแต่ละคนอาการล่อแล้มาก  อุ๊ป! o(0*0)o
แล้วจึงเริ่มเรียน เริ่มเรียนได้ซักพักก็ต้องกระตุ้นด้วยเกมอีกรอบ  แต่ชอบนะเพราะสนุกดี ทำให้ไม่ง่วงด้วย เอิ๊กๆๆ ร่ายยาวมาพอสมควรเข้าเนื้อหากันดีกว่า เนื้อหามีอยู่ว่า...

.
.
.
.

เนื้อหาในวันนี้

แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย (เสียงแบบเอคโค่) 
แนวคิดจะแบ่งออกเป็นสี่กลุ่มแนวคิดด้วยกัน คือ
1. แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม ก็จะมี 


ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinner >>  ซึ่งเชื่อว่าสิ่งแวดล้มมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการทางภาษา จะให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง Ex การทดลอง = นายสกินเนอร์เนี้ยได้ทดลองกับหนูทดลองโดยการนำหนูไปขังไว้ในกล่องโดยในกล่องจะมีปุ่มกดให้อาหารและน้ำ เขาขังหนูไว้เป็นอาทิตย์จนกระทั้งวันหนั่งหนูน้อยบังเอิญไปชนกับปุ่มในกล่องทำให้อาหารตกลงมาในครั้งต่อไปหนูก็จะกดปุ่มเพื่อได้กินอาหาร 

ทฤษฎีของ John B. Watson >> เป็นการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ให้เด็กเกิดพฤติกรรมโดยผู้ใหญ่เป็นผู้วางเงื่อนไข สามารถที่จะสั่งให้เด็กทำอะไรก็ได้ตามต้องการ Ex การทดลอง = นายวัตสันได้ทำการทดลองกับลูกของตัวเองโดยการขังลูกไว้กับกระต่าย และเมื่อเด็กจะไปจับกระต่ายเขาจะเคาะค้อนทำให้เกิดเสียงดังทำให้เด็กตกใจเข้าทำแบบนี้ซ้ำๆในช่วงเวลาหนึ่งผลที่ได้คือลูกของเขานั้นกลัวกระต่ายไม่เข้าใกล้กระตายอีกเลย 
โดยสรุป
กลุ่มพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า  >> ภาษาเป็นกระบวนการภายในมนุษย์ การเรียนภาษเป็นผลจากการปรับพฤติกรรมโดยลิ่มแวดล้อมเด็กจะเลียนแบบ เมื่อได้รับแรงเสริมเด็กจะเลียนแบบมากขึ้น

2. แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา 

ทฤษฎีของ Vygotsky  และ  PiaGet  มีความเหมือนและคล้ายคลึงกันมาก
แต่ต่างกันตรงที่ว่า เพียเจต์ดังกว่า เพราะไวกอทสกี้เกิดที่รัสเซียทำให้ทฤษฎีของเขาถูกปิดกั้น แต่ของเพียเจต์ได้รับการสนับสนุน สรุปทฤษฎีของกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา คือ
เด็กเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม สังคม คนรอบข้าง มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาและสติปัญญาของเด็ก

3. แนวคิดกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย

Arnold Gesell  
เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา ความพร้อมในวุฒิภาวะ ความพร้อมทางร่างกายของเด็กนั้นมีไม่เท่ากัน ง่ายๆคือ ถ้าเด็กโตมาเด็กจะพูดได้เอง เคอะ !

4. แนวคิดกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวเด็กมาแต่เกิด 

ก็จะมีนัก ทฤษฎี
Noam Chomsky  >> ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในของมนุษย์ การเรียนรูขึ้นอยู่ที่วุฒิภาวะ โดยศักยภาพในการเรียนรู้ภาษานั้นติดตัวมาแต่เกิด เรียกว่า LAD  คือ
Language = ภาษา  /  Acquisition = การได้มา /  Device = อุปกรณ์ กลไก
O.Hobart Mowrer >> ทฤษฎีความพึงพอใจ (เสียงหวานๆพูดเพราะๆ)
จิตวิตยาการเรียนรู้ 
๑. ความพร้อม = วัย และประสบการณ์ของเด็ก
๒. การจำ = การเห็นบ่อย การทบทวน 
๓. ความแตกต่างระหว่างบุคคล = อิทธิพลจากพัธุกรรม และ สิ่งแวดล้อม
๔. การมให้แรงเสริม = แรงเสริมทางบวก และ ลบ


ทบทวนเพลงของสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนขึ้นเพลงใหม่อีก 5 เพลง อาๆ โอๆ โด้ๆ เร  อะแฮ้ม! วอร์มเสียง
เรามีตาไว้ดู ล้าๆๆ 

เนื้อเพลงใหม่ที่มีผู้ร้องเพี้ยน เอิ่ม บางที่ก็เพี้ยนนิดหน่อยละกาน แหะๆ  o(>0^)o
.
.
.
เก็บตก
มีเกมที่ทั้งขำและฮามากๆๆๆเกมนึง เกมมีอยู่ว่า อาจารย์ได้ในประโยคมา ตัวอย่างเช่น
ยายกินลำไน้ำลายยายไหลย้อย อันนี้แค่เบาแต่จะมีอันที่่เด็ดกว่านี้อีกคือ
หีบมากมายหลายหีบยกหีบหนี
หีบมากมีหนีหีบหนีบหนีหาย
เห็นหนีหีบหนีบหนีกันมากมาย
เห็นหีบหายหลายหีบหนีบหนีเอย
ลองพูดเร็วๆซิ๊ เอ๊ะ! เมื่อกี๊ พูดว่าอะไรนะได้ยินไม่ชัดเลย
>/////<
เกมนี้มีชื่อว่าเกมลิ้นพันกันในประเทศอเมริกาได้ให้เด็กฝึกเล่นเกมนี้ เปลี่ยนจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
เกมนี้จะช่วยฝึกให้เด็กพูดได้อย่างฉะฉานเกิดความมั่นใจในตัวเองเป็นพัฒนาทักษะทางด้านภาษาให้แก่เด็ก


กิจกรรมต่อมาป็นการแต่งนิทาน
โดยอาจารย์ได้นำผลงานตัวอย่างมาให้ดู 


น่ารักฟรุ๊งฟริ๊ง  ><

ได้มีการแสดงบทบาทสมมุติโดยการตั้งกระดานเล็กๆ เละให้เพื่อนที่อยากทดลองเป็นคุณครูและนักเรียนได้ออกไปทำกิจกรรม เราได้แต่งนิทานเรื่องผลไม้หลากสี 


ครูขาหนูชอบทานผลไม้มากๆๆ (เติม ก 50 ตัว) >0<


เมื่อแต่งนิทานเสร็จเรียบร้องอาจารก็ได้ให้ทำการแบ่งกลุ่มเพื่อทำหนังสือนิทานโดยให้แต่ละกลุ่มรับผิดชอบในการวาดรูปกลุ่มละหน้า กลุ่มเค้ารูปตอนจบแหละ ^^
สวยชิมิหล้าาาา >////<


เมื่อทุกกลุ่มเสร็จแล้วก็ส่งตัวแทนออกไปเล่าสิ่งที่ตนเองทำว่าในหน้านั้นมีอะไรบ้าง อารมแบบอาจารย์เป็นคุณครูคอยถามเด็กๆ อะน่าร๊ากกก o(^3^)o


END 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

กิจกรรมการแต่งนิทาน ได้รู้หลักในการเรียนอุปกรณ์และตัวเองให้พร้อม การที่แต่งนิททานเราต้องดูว่าในสัปดาห์นั้นเราจัดการเรียนอะไร หรืออาจจะเป็นเรื่องที่เด็กสนมจก็ได้ ในระหว่างที่เขียนนั้นอย่ามัวแต่เขียนนะต้องคุยและถามเด็กไปด้วย อารมณ์ประมาณมือขยับปากก็ขยับพร้อมมือ เวลานั่งเขียนให้นั่งด้านที่ถนัด หลักการเหล่านี้สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต

การประเมินผล

ประเมินตนเอง

มีความสุขในการร่วมทำกิจกรรม เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอน ไม่เบื่อไม่ง่วงไม่นอน OK เรย

ประเมินเพื่อน 

เพื่อนๆน่ารักสนุก ทำให้ห้องเรียนไม่เครียด ตอนเล่นเกมนิอย่างฮาเลย โฮ๊ะๆๆ o(^()^)o

ประเมินอาจารย์

อาจารย์น่ารัก มีการสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างนะค่ะ คืออาจารทำน่ารักแต่หนูไม่สามารถทำแบบอาจารย์ได้ฮะ เนื้อหาอัดแน่ เต็มไปด้วยความรู้ ขอบคุณค่ะ กราบ o(UoU)o

จบการบันทึกครั้งที่ 3
บ๊ะบุ่ย














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น